ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ฮีสโตแกรม (Histogram)


ฮีสโตแกรม (Histogram)
ฮีสโตแกรม (Histogram) เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่นิยมใช้ในการนำเสนอข้อมูลในลักษณะกราฟแท่ง ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเพื่อกระจายความถี่ของข้อมูล ซึ่งข้อมูลจะเป็นหมวดหมู่โดยจะเรียงลำดับจากน้อยไปหามาก แกนตั้งจะเป็นตัวเลขที่แสดง “ความถี่” และแกนนอนเป็นข้อมูลคุณสมบัติสิ่งที่เราสนใจ แท่งกราฟแต่ละแท่งมีความกว้างเท่ากัน ซึ่งจะเท่ากับความกว้างของชั้นข้อมูล ส่วนความสูงของกราฟแต่ละแท่งนั้นจะสูงเท่ากับความถี่ของแต่ละชั้นข้อมูล แผนภูมิฮิสโตแกรมนี้แสดงให้เห็นถึงความเบี่ยงเบนของข้อมูลว่ามีลักษณะการกระจายตัวของข้อมูลเป็นแบบระฆังคว่ำหรือไม่ หรือมีความเบี่ยงเบนไปทางบวกหรือลบ หรือมีลักษณะรูปแบบฟันเลื่อยหรือแบบหน้าผา
ฮีสโตแกรม (Histogram) มักจะใช้วิเคราะห์ข้อมูลผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเป็นประจำ เพื่อวิเคราะห์หาขีดความสามารถของกระบวนการว่าเป็นไปตามแผนที่วางไว้หรือไม่ นอกจากนี้ยังพิจารณาความบกพร่องของกระบวนการช่วยให้วิเคราะห์และหาแนวทางปรับปรุงคุณภาพได้ถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตามภายใต้ความสมบูรณ์ยังมีเรื่องให้ปรับปรุงได้อีกอยู่ดีแนวทาง เช่น การลดค่าใช้จ่าย หรือการหาวัสดุทดแทน ลดการใช้พลังงาน เป็นต้น





การแจกแจงความถี่โดยใช้กราฟฮีสโตแกรม
                          1.ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากวางเรียงติดกันบนแกนนอน
                          2.แกนนอนแทนค่าของตัวแปร ความกว้างของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากแทนความกว้างของอันตรภาคชั้น
                          3.ความสูงของรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากจะแสดงความถี่
ตารางแจกแจงความถี่และฮีสโตแกรม จะไม่สามารถบอกได้ว่าข้อมูลที่มีอยู่มีค่าใดบ้าง และให้ภาพรวมในแต่ละช่วงคร่าว ๆ ว่าข้อมูลในแต่ละกลุ่มมีมากน้อยเพียงใดเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลกลุ่มอื่น ๆ
ลักษณะต่างๆ ของฮิสโตแกรม
                          1. แบบปกติ   เป็นการกระจายของการผลิตเป็นไปตามปกติ ค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่จะอยู่ตรงกลาง
                          2. แบบแยกเป็นเกาะ  จะพบเมื่อกระบวนการผลิตขาดการปรับปรุง/หรือการผลิตไม่ได้ผล

                          3. แบบระฆังคู่  จะพบเมื่อนำผลิตภัณฑ์ของเครื่องจัก 2 เครื่อง / 2 แบบมารวมกัน

                           4. แบบฟันปลา  จะพบเมื่อเครื่องมือวัดมีคุณภาพต่ำ หรือการอ่านค่ามีความแตกต่างกันไป


          5. แบบหน้าผา  จะพบเมื่อมีการตรวจสอบคัดของเสียออกไป

อ้างอิง
หนังสือ Quality Improvement การปรับปรุงคุณภาพ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รัญชนา   สินธวาลัย)
www.satitprasarnmit.ac.th/s_math/attachments/article/40/Point%202.pdf
http://www.mim.psu.ac.th/index.php/2-uncategorised/93-histogram
https://www.gotoknow.org/posts/345308
www.kicec.ac.th/elearning/moodledata/56/Unit_6_.doc

จัดทำโดย
นางสาวอังสุมาลี  ชลธารสฤษฏ์
MIM13 รหัสนักศึกษา 6010121013

ความคิดเห็น